นโยบายนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ วาระปี 2565-2567
ณ ที่ทำการสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
…………………………………………………………………………………
ในนามของนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ วาระปี 2565-2567 ขอขอบคุณท่านสมาชิกสมาคมฯ ที่ได้มอบความไว้วางใจเลือกดิฉัน และคณะกรรมการ รวม 30 ท่าน เข้ามาบริหารงานสมาคมฯ ในวาระปี 2565-2567 และขอขอบคุณกรรมการทุกท่านที่มอบความไว้วางใจให้ดิฉันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ
ดิฉัน และคณะกรรมการทั้ง 29 ท่านขอเรียนว่าเราพร้อมที่จะเสียสละเวลาร่วมบริหารงาน ภายใต้ข้อบังคับ และระเบียบปฏิบัติงานของสมาคมฯ และพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งวิสัยทัศน์ นโยบาย และแผนงาน ของคณะกรรมการสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ วาระปี 2565-2567 มีดังต่อไปนี้
พันธกิจ
1. ขยายตลาดและสร้างโอกาสทางการค้า ให้กับสมาชิกและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีไทย
และเครื่องประดับ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
2. สร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมสมาคมฯให้เป็นองค์กรภาคเอกชนชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนไทยและต่างประเทศ
3. จัดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาคมฯ พร้อมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน องค์กรให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฯ และอุตสาหกรรมโดยรวม
นโยบาย
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้ตั้งไว้ คณะกรรมการสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับจึงได้จัดทำนโยบายเพื่อให้รองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับในทุกๆด้าน ดังต่อไปนี้
1.แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าและการทำธุรกิจ
1.1 ด้านภาษี และกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ
ผลักดันให้ภาครัฐแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรค
หรือไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจการค้า
1.2 ด้านวัตถุดิบ
มีความร่วมมือกับประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญๆ เพื่อให้มีวัตถุดิบไหลเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง
1.3 ด้านแหล่งเงินทุนสนับสนุนการทำธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ โดยประสานกับธนาคารให้การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่มีปัญหาธุรกรรมการเงิน
2.พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของบุคคลากร
2.1 ด้านการศึกษา
มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆที่มีหลักสูตรการเรียน การสอนเกี่ยวกับอัญมณีและ
เครื่องประดับ ในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบุคคลากรให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม
2.2 ด้านการผลิต การออกแบบ, และการสร้าง Trend ให้กับอุตสาหกรรม
ส่งเสริมให้มีการจัดอบรม สัมมนา รวมถึงการทำ work shop ต่างๆทั้งด้านการผลิตและการออกแบบ เพื่อให้มีการสร้างสรรค์งานใหม่ๆให้มากขึ้น
รวมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง มีการพัฒนารูปแบบสินค้าของสมาชิก เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านคุณภาพ และราคา รวมถึงความหลากหลายของสินค้าให้กับประเทศไทย
2.3 ด้านการฝึกอบรม
จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรม อาทิ หลักสูตรด้านการขายและ
การตลาด หรือการบริการลูกค้าหลังการขาย เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ รวมถึงส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สมาคมฯเข้ารับการอบรมในองค์กรต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน
3.การขยายตลาดการค้า
3.1แสวงหาตลาดใหม่ พัฒนาตลาดเก่า ร่วมมือกับผู้จัดงานแสดงสินค้าในประเทศต่างๆจัดทำ Thailand Pavilion เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสไปเปิดตลาดการค้าในต่างประเทศเพิ่มขึ้น สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในต่างประเทศ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดต่างประเทศ
3.2 จัดทำ Business Matching นำผู้ประกอบการไทยไปต่างประเทศ และนำผู้ประกอบการต่างประเทศมาพบปะเจรจาผู้ประกอบการไทย
3.3 ส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ (E-Marketplace) โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
3.4 ส่งเสริมการจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ เพื่อให้เป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญสำหรับ สมาชิกและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯ
4.การประชาสัมพันธ์ และการสร้างภาพลักษณ์สมาคมฯ และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
4.1 ส่งเสริมการส่งข่าวสารให้เข้าถึงสมาชิกได้ติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างทันเหตุการณ์ และพัฒนารูปแบบการส่งข่าวสารให้ทันสมัยผ่านช่องทาง Line@ , Facebook เป็นต้น
4.2 ปรับปรุงเว็ปไชต์สมาคมฯให้เป็นช่องทางหลักในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสมาคมฯและอุตสาหกรรมฯ
4.3 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนส่งเสริม National Brand ของอัญมณีและเครื่องประดับผ่านงานแสดงสินค้าที่สำคัญๆของโลก
5.การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
มีความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ เพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ และพัฒนา
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ตลอดจนดำเนินการตามพันธะกรณีที่ได้ให้ไว้ต่อหน่วยงานต่างๆ